29 กุมภาพันธ์ วันพิเศษสี่ปีมีครั้ง

วันอธิกสุรทิน (Leap Day) คือวันพิเศษที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ โดยเพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ขึ้นอีก 1 วัน คือวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ปฏิทินสอดคล้องกับฤดูกาลทางดาราศาสตร์ หากไม่มีวันพิเศษในเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูกาลและปฏิทินก็จะไม่ตรงกัน ดังนั้นปีอธิกสุรทินก็คือปีที่เดือนกุมภามี 29 วัน

วงโคจรของดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 365.25 วัน ซึ่งมากกว่าจำนวนรอบ 365 วันในปฏิทินจอร์เจียเล็กน้อย การเพิ่ม .25 ทำให้ต้องมีปีอธิกสุรทินทุก ๆ 4 ปี เพื่อให้ปฏิทินสอดคล้องกับปีสุริยคติ ซึ่งหากไม่มีระบบที่เรารู้จักในปัจจุบัน ปฏิทินของเราจะถูกปัดไป 5 ชั่วโมง 48 นาที และเพิ่มขึ้นอีก 45 วินาทีในแต่ละปี!

ประเพณีและตำนานของอธิกสุรทิน

เนื่องจากปีดังกล่าวหายากกว่าปีปกติ จึงกลายเป็นลางบอกเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นในปีอธิกสุรทิน มักจะสร้างความจดจำที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ที่ได้ใช้อุบายเรื่องการเกิดจันทรุปราคาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1504 เพื่อต่อรองกับชนพื้นเมืองจาเมกา ท้ายที่สุดแล้วการต่อรองนี้ก็ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปีอธิกสุรทินอีก ได้แก่

การขอแต่งงานในวันอธิกสุรทิน

แม้ว่ามนุษย์จะมีเพศที่หลากหลายแต่ในสมัยก่อนมีบางประเพณีที่เน้นเพียงแค่เพศหญิงและชายเท่านั้นอย่างประเพณีแต่งงานที่เกิดขึ้นจากผู้ชายเป็นฝ่ายขอแต่งงาน

ในสมัยที่กฎหมายอังกฤษไม่ยอมรับวันอธิกสุรทิน ผู้หญิงจึงสามารถขอผู้ชายแต่งงานได้ในวันที่ 29 กุมภา เนื่องจากเป็นวันที่ไม่มีสถานะทางกฎหมาย การฝ่าฝืนประเพณีในวันนี้จึงเป็นที่ยอมรับได้ แต่ถึงอย่างไรการที่ผู้หญิงขอแต่งงานในปีอธิกสุรทินของแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกันออกไป 

ในสกอตแลนด์มีความเชื่อว่าผู้หญิงจะสวมกระโปรงชั้นในสีแดงไว้ใต้ชุดของพวกเธอ โดยให้ผู้ชายมองเห็นได้เพียงบางส่วน เพื่อให้การขอแต่งงานของพวกเธอประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ตามธรรมเนียมในไอร์แลนด์กำหนดให้ผู้หญิงสามารถคุกเข่าขอแต่งงานได้ตลอดทั้งปีอธิกสุรทินอีกด้วย

 

ส่วนในเดนมาร์ก การขอแต่งงานของผู้หญิงไม่ใช่วันที่ 29 แต่เป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งย้อนกลับไปในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ หากผู้ชายชาวเดนมาร์กปฏิเสธการแต่งงานพวกเขาจะต้องมอบถุงมือ 12 คู่ให้กับผู้หญิงคนนั้น ต่างกับฟินแลนด์ที่ไม่ใช่ถุงมือ แต่เป็นผ้าสำหรับทำกระโปรง 

วันอธิกสุรทินเป็นวันโชคร้าย

ในทางกลับกันที่กรีซการแต่งงานในปีอธิกสุรทินถือเป็นเรื่องโชคร้าย จึงมีการแนะนำให้คู่รักหลายคู่หลีกเลี่ยงการแต่งงาน นอกจากนี้ในสุภาษิตอิตาลีได้เตือนผู้หญิงว่า ปีอธิกสุรทินมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ชายเอาแน่เอานอนไม่ได้ จึงแนะนำให้พวกเธอหลีกเลี่ยงการตัดสินใจเรื่องสำคัญในชีวิตจนกว่าปีอธิกสุรทินจะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่าเป็นปีอธิกสุรทินสัญญาณของความโชคร้าย จากเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีอธิกสุรทิน ได้แก่ กรุงโรมโบราณที่ถูกเผาในปีคริสตศักราช 64 และเรือไททานิคจมในปี 1912

สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงในวันศุกร์ช่วงปีอธิกสุรทินเสมอ

นิทานพื้นบ้านกล่าวไว้ว่าในปีอธิกสุรทิน สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงในวันศุกร์เสมอ ในขณะที่ชาวรัสเซียเชื่อว่าปีอธิกสุรทินนำมาซึ่งสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ อีกทั้งเกษตรกรชาวสก็อตยังมองว่าสภาพอากาศในปีอธิกสุรทินจะไม่ดีต่อพืชผล

Links to related Sites: 

- Leap Year Facts, Traditions and Myths, sykescottages
- Leap Year Superstitions, historic-uk
- Leap year: 10 things about 29 February, bbc

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *