รู้หรือไม่ ยิ่งฝันร้ายบ่อย ยิ่งมีความคิดสร้างสรรค์!?

ทราบหรือไม่ว่าความคล้ายคลึงกันระหว่างหนังสุดคลาสสิกทั้ง 2 เรื่อง อย่างแดร็กคิวล่า และแฟรงเกนสไตน์ ก็เกิดจากการที่นักเขียนฝันร้าย! เรื่องนี้ก็เลยนำมาซึ่งคำถามที่ใคร ๆ ต่างก็สงสัย ว่าคนที่ฝันร้ายบ่อย ๆ จะกลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์จริงหรือเปล่า? และถ้าผลการวิจัยนี้บอกว่า “ใช่” ล่ะ?

แม้ว่าความคิดสร้างสรรค์จะไม่ใช่ผลลัพธ์ที่มาจากฝันร้ายโดยตรง แต่ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำว่า การฝันร้ายอาจจะทำให้เราคิดอะไรได้ชัดเจนกว่าเดิม และมีรูปแบบความคิดที่มีจินตนาการมากยิ่งขึ้น แต่เราจะเข้าใจว่าฝันร้ายมีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์นี้ได้อย่างไร ต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่าฝันร้ายให้ถูกต้องกันก่อนค่ะ

อะไรถือว่าเป็นฝันร้าย?

หลาย ๆ คนเข้าใจว่า อาการฝันร้ายก็คือ การฝันถึงเรื่องสยดสยองในเวลากลางคืน คุณอาจสังเกตว่าเด็ก ๆ มีประสบการณ์ฝันร้ายมากมาย แต่ไม่สามารถจดจำเรื่องราวในความฝันได้ในวันรุ่งขึ้น ถ้าถามพ่อแม่ของพวกเขาก็อาจจะบอกว่าขณะที่เด็ก ๆ หลับ พวกเขากรี๊ด ร้องไห้  และไม่ยอมตื่นจากฝันร้าย นี่ก็อาจจะไม่ใช่ฝันร้ายจริง ๆ

นี่เป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก ๆ ที่มีภาวะตกใจกลัวตอนกลางคืนเท่านั้นไม่ใช่ฝันร้าย การที่พวกเขาสามารถอธิบายถึงการต่อสู้กับความกลัวในขณะที่หลับ ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอน ตารางการนอน หรือความผิดปกติของการนอนหลับ แต่นี่ไม่ใช่อาการฝันร้ายที่เรากำลังจะพูดถึง ฝันร้ายจริง ๆ คือ การฝันเห็นเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัว ซึ่งมักจะตามมาด้วยปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่นาทีจนถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และเมื่อคุณตื่นขึ้นมาจากฝันร้าย ก็ยังจดจำเรื่องราวเหล่านี้ได้ดี

ใคร ๆ ก็เคยฝันร้าย อย่างการถูกไล่ล่าโดยมังกรที่น่ากลัว การตกอยู่ในหุบเหวลึก หรือ เพื่อนรักของเรากลายเป็นปีศาจที่อยากกินเลือด ดังนั้นอะไรล่ะ ที่จะแยกฝันร้ายออกจากความคิดสร้างสรรค์?

นอกเหนือจากความชัดเจนของเรื่องราว การฝันร้ายถี่ ๆ ก็ยังเป็นสิ่งที่เชื่อว่า สิ่งนี้เป็นตัวกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ แม้ว่าเราจะมีประสบการณ์ฝันร้ายเป็นประจำ แต่การฝันร้ายที่แท้จริงก็ยังน้อยอยู่ น่าเสียดายที่นักวิจัยคาดการณ์ว่า ร้อยละ 85 ของประชากร มีประสบการณ์ในเรื่องนี้เพียงแค่ 1-2 ครั้งต่อปี

ดังนั้นอยากให้ลองคิดดูว่า ถ้าคุณฝันร้ายมากกว่าค่าเฉลี่ยนี้ คุณก็จะกลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากแค่ไหน???

ฝันร้ายทำให้มีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นได้อย่างไร?

หากพบว่าเรามีอาการฝันร้ายเป็นประจำ ก็มีแนวโน้มว่าคุณจะได้รับไอเดียที่สร้างสรรค์จากสิ่งเหล่านี้ มีการศึกษาหนึ่งพบว่า นักเรียน 20-28% ได้รายงานความฝันของพวกเขา (ไม่ได้จำกัดแค่ฝันร้าย) ว่า ทำให้พวกเขามีความเข้าใจใหม่ ๆ ที่ลึกซึ้ง และส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันของพวกเขา สิ่งนี้ก็เลยเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า ฝันร้ายมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์มากกว่าความฝันปกติยังไง?

จำได้แม่นยำมากขึ้น

เมื่อพูดถึงฝันร้าย ดูเหมือนว่ามีเพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้จดจำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากคุณมักตื่นขึ้นมากลางดึก รวมถึงการที่ฝันร้ายมักตามหลอกหลอนคุณอยู่ในความทรงจำเป็นเวลานาน หากลองกลับไปหาตัวอย่างจากเรื่องแฟรงเกนสไตน์ ผู้แต่ง Mary Shelly ได้อธิบายถึง ธรรมชาติของฝันร้ายและเขียนลงหนังสือของเธอ

เธอบอกว่า เมื่อหัวถึงหมอน เธอไม่ได้หลับทันที แต่เพราะคิดจินตนาการเป็นเรื่องราว ทำให้เกิดภาพอย่างต่อเนื่องในหัว จนกระทั่งผลอยหลับ ทำให้เธอฝันร้ายนั่นเอง

การที่เราจดจำฝันร้ายได้ จะทำให้คุณคิดนอกกรอบและมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

ความคิดที่ผิดปกติ

จากการศึกษาของแคนาดา แสดงให้เห็นว่าคนที่มีประสบการณ์ฝันร้ายแบบปกติ (ไม่เกิน 2 สัปดาห์) แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการคิดที่ผิดปกติ ผู้เข้าร่วมถูกขอให้เข้าร่วมกลุ่มที่มีคำที่ เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก อย่างเช่น ความสุข หรือ โกรธ คนที่ฝันร้ายบ่อยจะเกี่ยวข้องกับความโกรธด้วยสีแดง ในขณะที่คนที่ไม่ได้มีประสบการณ์ฝันร้าย จะเกี่ยวข้องกับความโกรธด้วยคำที่คล้ายกัน เช่น คำว่าบ้า แสดงให้เห็นว่าคนที่ฝันร้ายแบบปกติจะไม่มีกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์

การเอาใจใส่

เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วกันว่า ความสัมพันธ์เชิงบวกจะเกิดขึ้นระหว่างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะและการเอาใจใส่ แม้ว่าจะไม่ชัดเจนนักว่ามีอิทธิพลอย่างไร แต่ก็สอดคล้องกับผลการศึกษาในปี 2013 คือการที่คนฝันร้ายบ่อยจะมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น โดยที่พวกเขามีแนวโน้มที่จะแสดง “พฤติกรรมสะท้อน” และมีความไวต่อสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งสิ่งนี้หมายถึง คนที่ฝันร้ายบ่อย เป็นคนที่มีระดับความเห็นอกเห็นใจสูง ซึ่งมีบทบาทในการช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

ดังนั้นหากพบว่าฝันร้ายบ่อย ๆ ให้แสดงความกลัวผ่านรูปแบบงานศิลปะ อย่างงานเขียนและงานวาด เหมือนกับงานเขียนแฟรงเกนสไตน์ ที่มาจากฝันร้ายเช่นกัน 😉

ที่มา curejoy

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *