ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใหญ่อย่างเราจำเป็นต้องใช้งานแทบตลอดเวลา ไม่ว่าจะดูหนัง เล่นโซเชียล ติดต่องาน ข้อมูลเกือบทุกสิ่งอย่างอยู่ในโทรศัพท์มือถือหมด และเมื่อเด็ก ๆ เห็นผู้ใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน พวกเขาก็อยากใช้บ้าง..

และเพราะอะไรกันที่ทำให้เด็กยุคนี้ติดสมาร์ทโฟน มาไขข้อข้องใจกันที่ด้านล่างนี้เลย

เด็ก ๆ รักมือถือ

ในยุคนี้จะห้ามเด็กไม่ให้ใช้สมาร์ทโฟนเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เด็ก ๆ ติดสมาร์ทโฟนล่ะ?

พ่อแม่จำนวนสองในสามต่างก็บอกว่า เด็กหนึ่งขวบสามารถใช้ฟังก์ชันบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้อย่างเช่น

  • เล่นเกม ได้แก่ เกม Fruіt Ninja และ Tаlkіng Ginger
  • ใช้นิ้วไถเพื่อปลดล็อกหน้าจอ
  • กดปุ่มเล่นวีดิโอบนยูทูป
  • ดูรูปภาพในแกลอรี
  • ปิดแอปฯ ที่ไม่ชอบ และเปิดอีกแอปฯ หนึ่งที่ชอบมากกว่า

ซึ่งเรื่องนี้สถาบันที่เชี่ยวชาญทางด้านเด็กของสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ข้อมูลว่า ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กทารกจนถึงสองขวบใช้สมาร์ทโฟนรวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ เด็กอายุ 3 – 5 ปีนั้นควรเล่นสมาร์ทโฟนไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง และเด็กอายุที่มากกว่า 5 ปีควรเล่นแค่วันละ 2 ชั่วโมง โดยอยู่ในสายตาของพ่อแม่ผู้ปกครอง

เลียนแบบผู้ใหญ่

เด็กเล็ก ๆ มักเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่หรือพี่น้องของตัวเอง โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด มีหลาย ๆ อย่างที่พวกเราละเลย อย่าลืมว่าเด็ก ๆ สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่พวกเราคาดคิดเสมอ

มีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ให้คำแนะนำว่า พ่อแม่ควรมีช่วงเวลาในการพูดคุยกับเด็ก เพื่อช่วยในการพัฒนาด้านภาษาของเด็กให้ดีขึ้น ในขณะที่หลาย ๆ แอปฯ ทำได้เพียงแค่การเลียนแบบของเล่น แต่ไม่สามารถสอนทักษะสำคัญที่เด็กจำเป็นต้องมี อย่างเช่น การสัมผัสวัตถุสิ่งของ เพราะเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการทำสิ่งต่าง ๆ จากโลกแห่งความเป็นจริง

Emily อายุเกือบจะ 9 เดือน เธอใช้มือไถหน้าจอปลดล็อกไอโฟน และกดเข้าแอปพลิเคชันโดยดูจากพ่อแม่ของเธอ หลังจากนั้นเธอสามารถเริ่มค้นหารูปภาพในอัลบั้มได้เมื่อตอน 11 เดือน นอกจากนี้ยังมีเด็กอีกหนึ่งคน เธอชื่อ Lіlу อายุ 16 เดือน เธอก็สามารถเข้าดูรูปภาพจากมือถือแม่ของเธอได้อย่างง่ายดาย

พฤติกรรมกรรมการเลียนแบบของเด็กเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง หากผู้ใหญ่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเด็กก็จะสามารถเลียนแบบได้ง่าย ดังนั้นผู้ปกครอบต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่ว่าจะทำอะไรเพราะลูก ๆ กำลังมองดูพวกคุณอยู่

แอปฯ การศึกษาสำหรับเด็กดีหรือไม่?

แอปฯ และเกมที่เกี่ยวกับการศึกษาอาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยให้เด็กรู้สึกสนใจและได้รับความรู้ง่ายขึ้น 

และหากคุณมีแผนที่จะใช้แอปพลิเคชันหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสื่อสารระหว่างคุณและลูก ก็ลองจัดเวลาให้สมดุลเพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกับพวกเขา จะทำให้การใช้สื่อมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เพราะหลายครั้งที่พ่อแม่ไม่ได้นั่งดูอยู่กับเด็ก พ่อแม่จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเด็กได้ดูคลิปอะไรไปบ้าง ได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมอะไรไป อย่าลืมว่าพวกเขาก็จะสามารถเลียนแบบพฤติกรรมต่าง ๆ ได้จากแล็ปท็อป หรือสิ่งที่เขาสนใจได้จากหน้าจอ 

การให้เด็กใช้สมาร์ทโฟนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อยู่ที่ว่าผู้ปกครองจะสอนให้เด็กเข้าใจและให้ความรู้กับเด็กอย่างไรมากกว่านั่นเอง

ที่มา ideas.ted,lifehack, taamkru

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *