5 เคล็ด (ไม่) ลับ เสริมแคลเซียมให้ร่างกายแข็งแรง

อย่างที่ทราบกันว่า ‘แคลเซียม’ เป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่จำเป็นมากที่สุดต่อการมีสุขภาพที่ดีและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายของคุณ การดูดซึมแคลเซียมนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้สุขภาพฟันและกระดูกดีขึ้น รวมทั้งช่วยทำให้ขาของคุณแข็งแรงขึ้นด้วย แคลเซียมช่วยในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ตลอดจนควบคุมความสมดุลของกรด (pH) ในเลือดของคุณ

ร่างกายของคุณเต็มไปด้วยแคลเซียมมากกว่าแร่ธาตุอื่น ๆ โดยเฉพาะในกระดูกและฟันมีแคลเซียมครอบครองอยู่เกือบ 99%  ส่วนอีก 1% มีอยู่ในกล้ามเนื้อ, เนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย และของเหลว

การขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงบางอย่างได้ เมื่อไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ กระดูกของคุณอาจจะอ่อนแอ, เปราะบาง, พรุน หรืออ่อนลงได้ ซึ่งหากยังไม่ได้รับการรักษา ภาวะขาดแคลเซียมอาจส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกอ่อนได้ นอกจากนี้การสูญเสียความจำ, ภาวะซึมเศร้า, กล้ามเนื้อหดเกร็งหรืออาการชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น  มือและเท้า ก็เกิดขึ้นจากการขาดแคลเซียมเช่นกัน และเพื่อช่วยซ่อมแซมการขาดแคลเซียมในร่างกาย จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงการทานอาหารบางอย่างในแต่ละวันของคุณ รวมไปถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันของคุณด้วย

และนี่คือ 5 เคล็ดลับที่ช่วยเสริมแคลเซียมให้ร่างกายแข็งแรง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1.ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ

วิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มระดับการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายของคุณ สิ่งหนึ่งที่บรรดาพ่อแม่ควรรู้ไว้ก็คือ การได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอในกลุ่มเด็ก ๆ อาจทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกระดูกอ่อนได้ โดยหนึ่งในวิธีเพิ่มปริมาณการรับวิตามินดีแบบเป็นธรรมชาติมากที่สุดคือ การใช้เวลายืนใต้แสงแดดหลายนาทีต่อวัน แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียที่ต้องควรระวังไว้เช่นกัน เนื่องจากการได้รับแสงแดดมากเกินไปนั้นอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลาประมาณ 9 โมงเช้าถึงประมาณบ่าย 3 โมง หากต้องออกไปข้างนอกในช่วงเวลาเหล่านี้ก็อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันผิวติดตัวไว้ด้วย

อีกหนึ่งวิธีที่ดีต่อการรับวิตามินดีอย่างพอเพียงก็คือ การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี อย่างเช่นการทานผลิตภัณฑ์จากนมที่มีการเติมวิตามินดีลงไป หรือการดื่มน้ำนมที่มีการเติมวิตามินดีลงไป คุณสามารถเลือกวิตามินและสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณแคลเซียม ซึ่งประกอบไปด้วยโบรอน, แมกนีเซียม, และวิตามินเค แต่ก่อนที่จะใช้อาหารเสริมใด ๆ ก็ตาม ให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและสอบถามถึงปริมาณที่เหมาะสมในการทาน

2.ลดการบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก

การบริโภคโซเดียมทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง วิธีแก้ที่คุณทำได้ก็คือใส่เครื่องเทศหรือสมุนไพรเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารแทนการใส่เกลือ ในขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงพวกอาหารแปรรูปด้วย เนื่องจากในอาหารแปรรูปอาจมีโซเดียมในปริมาณมากอยู่

3.หลีกเลี่ยงคาเฟอีนที่มากเกินไป

ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการดื่มกาแฟสักแก้ว แต่เมื่อความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานจากภาวะการขาดแคลเซียมมาเยือน คุณจะไม่ได้รับอนุญาตให้ดื่มกาแฟที่มากขึ้นได้ คาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟสามารถชะล้างแคลเซียมออกจากกระดูก ซึ่งทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง หากคุณไม่สามารถเลิกดื่มกาแฟได้ พยายามดื่มการแฟให้ได้น้อยกว่า 2 แก้วต่อวันก็พอแล้ว เพื่อลดการออกฤทธิ์ของคาเฟอีน คุณสามารถใส่นมเพิ่มลงไปในกาแฟของคุณได้ นอกจากนี้การดื่มชาเขียวหรือชาสมุนไพรอื่น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีเช่นกัน

4.หลีกเลี่ยงการดื่มโซดา

การดื่มโซดาสามารถหยุดกระบวนการดูดซึมแคลเซียมไว้ชั่วคราวได้ ดังนั้นควรออกห่างจากเครื่องดื่มนี้จะดีกว่า การบริโภคเครื่องดื่มประเภทโซดามากเกินไปอาจทำให้ระดับฟอสเฟตในเลือดของคุณเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งระดับฟอสเฟตที่สูงจะไปขัดขวางการบริโภคเเคลเซียม ดังนั้นหากคุณต้องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะเช่นกัน

5.บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมให้มากขึ้น

มีอาหารที่ดีมากมายที่มีแคลเซียมสูง ซึ่งคุณสามารถเลือกทานได้ตามต้องการ โดยอาหารบางอย่างที่ว่านี้ประกอบด้วย

  • ผลิตภัณฑ์จากนม ไม่ว่าจะเป็นชีส และโยเกิร์ต
  • ถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่น ๆ
  • นมที่ไม่มีไขมันหรือนมขาดมันเนย
  • ปลาซาร์ดีน
  • ซีเรียลธัญพืชเสริม (มีการเติมวิตามินและแร่ธาตุด้วย)
  • ผักใบเขียวเข้ม อย่างเช่น ผักเคล ผักปวยเล้ง และคะน้าฝรั่ง

นอกจากนี้ นมข้าว, นมอัลมอนด์, นมถั่วเหลือง, น้ำส้ม หรือซีเรียลอาหารเช้า ต่างก็เป็นตัวอย่างของอาหารที่เสริมแคลเซียมที่เป็นที่รู้จักกันดี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *